PRM
26 เมษายน 2567 16:36
7.65 บาท
เปลี่ยนแปลง (% เปลี่ยนแปลง)
-(-%)
ปริมาณซื้อขาย (หุ้น)
13,934,147
มูลค่าการซื้อขาย ('000 บาท)
105,310
หน่วย:ล้านบาท
สินทรัพย์รวม
รายได้จากการให้บริการ
กำไรสุทธิ
ดาวน์โหลดเอกสารนักลงทุน
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) ปี 2566
รายงานประจำปี ปี 2563
Financial Statement ปี 2566

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็น "ผู้นำการขนส่งปิโตรเลียมและปิโตรเคมี" โดยยึดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) เป็นแกนล้อสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (บริษัทฯ) จึงกำหนดนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและการกำกับดูแลกิจการที่ดี


นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กลุ่มบริษัท พริมา มารีน กำหนดนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อมุ่งไปสู่การประกอบธุรกิจที่อยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างกลมเกลียว

บริษัทฯ ได้คำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ทำให้บริษัทดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาอย่างยั่งยืนบริษัทฯ จึงจัดทำแผนบริหารผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Management) แต่ละกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อประเมินความสำคัญและความสัมพันธ์ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ และวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียรอบด้าน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดแก่พนักงานทุกระดับเพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างแท้จริง

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการมีส่วนร่วม ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการตอบสนองต่อ
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ถือหุ้น/ผู้ร่วมทุน
  • การจัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
  • งานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day)
  • การเยี่ยมชมกิจการ
  • การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรม
  • การบริหารจัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • สร้างผลตอบแทนที่ดี
  • ไม่สร้างความเสียหายหรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • ได้รับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับบริษัทฯ อย่างเพียงพอ เท่าเทียม ถูกต้อง และทันเวลา
  • เคารพสิทธิของผู้ถือหุ้น
  • ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรม
  • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และเป็นธรรม รวมถึงบริหารจัดการบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับบริษัท มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ และไม่แสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
  • เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญของบริษัทฯ ให้แก่ผู้ถือหุ้นทราบอย่างเพียงพอ เท่าเทียม ถูกต้อง และทันเวลา
พนักงาน
  • การสื่อสารระหว่างฝ่ายทรัพยากรบุคคลกับพนักงาน
  • การประชุมผู้บริหารพบพนักงาน (Town Hall)
  • การสื่อสารผ่ารสื่ออนไลน์ อินทราเน็ต และอีเมล
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
  • การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับสายงานและด้านความปลอดภัย
  • ผลตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ที่ดี เหมาะสม และเป็นธรรม
  • บรรยากาศการทำงานที่ดีและมีความปลอดภัย
  • การแต่งตั้ง โยกย้าย การให้รางวัล และการลงโทษที่เป็นธรรม
  • พัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพของพนักงานตามสายการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
  • รับฟังและทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่
  • จัดให้มีมั่นคงและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • ได้รับข้อมูลข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ
  • จัดให้มีสวัสดิการและผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
  • ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน
  • กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเพื่อประเมินผลงานอย่างโปร่งใส
  • กำหนดแผนการฝึกอบรมประจำปีสำหรับพนักงานในแต่ละฝ่าย ซึ่งครอบคลุมทั้งทักษะขั้นพื้นฐาน ทักษะด้านการบริหาร และความรู้เฉพาะทางวิชาชีพที่เหมาะสม
  • จัดให้มีช่องทางรับฟังความคิดเห็นหรือช่องทางรับแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎระเบียบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย
  • หลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรมและอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในอาชีพการงาน รวมถึงไม่คุกคามหรือกดดันต่อสภาพจิตใจของพนักงาน
  • แจ้งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่พนักงานผ่านอีเมลบริษัทฯ
เจ้าหนี้
  • การประชุมนักวิเคราะห์
  • การประชุมร่วมกับเจ้าหนี้
  • การเยี่ยมชมกิจการ
  • การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
  • ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • การปฏิบัติตามข้อตกลงและ/หรือเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด
  • ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงกับข้อเท็จจริง
  • ไม่เรียก รับ หรือยอมว่าจะรับ รวมทั้งไม่ให้ หรือรับว่าจะให้ ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริต หรือมิใช่ในทางธรรมเนียมการค้ากับ เจ้าหนี้
  • จัดให้มีการเจรจาต่อรองในทางการค้าที่ไม่เอารัดเอาเปรียบ โปร่งใส และเป็นธรรม
  • ชำระเงินต้น ดอกเบี้ย หรือการจัดการหลักประกันให้เป็นไปตามเงื่อนของสัญญา
  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและ/หรือเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่มีข้อขัดข้องจนไม่อาจปฏิบัติตามได้ ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ รวมทั้งต้องแสวงหาหนทางในการแก้ไขร่วมกันเพื่อให้คู่เจ้าหนี้ได้รับผลการปฏิบัติที่เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับที่ตกลงกันไว้มากที่สุด
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฯ ที่ถูกต้องและตรงกับข้อเท็จจริงแก่ เจ้าหนี้
คู่ค้า
  • การประชุม Supplier Day
  • การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
  • การคัดเลือกคู่ค้าอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่เอารัดเอาเปรียบ
  • การปฏิบัติตามข้อตกลงและ/หรือเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด
  • บริษัทฯ สนับสนุนและยกระดับการดำเนินงานของคู่ค้า เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงกับข้อเท็จจริง
  • ได้รับการแบ่งปันองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมร่วมกัน เพื่อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
  • จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และมีการทบทวนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
  • มีการจัดประกวดแข่งขันเสนอราคาของคู่ค้าอย่างเท่าเทียม ภายใต้หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบราคาของบริษัทฯ
  • รักษาและป้องกันข้อมูลระหว่างบริษัทฯ และคู่ค้า
  • จัดทำแบบประเมินการบริหารจัดการเรือบรรทุกน้ำมันและการประเมินตนเอง (Tanker Management and Self-Assessment: TMSA) 1 ครั้งต่อปี
  • ไม่เรียก รับ หรือยอมว่าจะรับ รวมทั้งไม่ให้ หรือรับว่าจะให้ ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริต หรือมิใช่ในทางธรรมเนียมการค้ากับคู่ค้า
  • เจรจาต่อรองในทางการค้ากับคู่ค้า ต้องไม่เอารัดเอาเปรียบ โปร่งใส และเป็นธรรม
  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและ/หรือเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กำหนดขอบเขตการดำเนินงานอย่างชัดเจน การให้บริการหรือการชำระเงินตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
ลูกค้า
  • การพบปะ/ประชุมกับลูกค้าโดยตรง
  • อีเมลระบบลูกค้าสัมพันธ์ที่ PRMoperation@primamarine.co.th
  • การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
  • การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
  • บริการที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงกับข้อเท็จจริง
  • การรับฟังและแก้ไขปัญหาจากการใช้บริการ
  • การรักษาข้อมูลหรือความลับของลูกค้า
  • จัดให้มีนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • มีความสัมพันธ์อันดี และมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
  • จัดให้มีบริการที่มีคุณภาพ โดยกำหนดระดับและมาตรฐานคุณภาพของการให้บริการ และปฏิบัติตามเงื่อนไข คำมั่น หรือข้อเสนอที่ได้ให้ไว้แก่ลูกค้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงรักษามาตรฐานคุณภาพของการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  • เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ และการให้บริการต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ อย่างครบถ้วน และตรงกับข้อเท็จจริง ไม่โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิด
  • จัดให้มีระบบรับเรื่องร้องเรียนเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากลูกค้าเกี่ยวกับการให้บริการต่าง ๆ ของกลุ่มบริษัทฯ และทำการแก้ไข หรือชี้แจงให้ลูกค้าได้ทราบผลของการดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนนั้น
  • จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของลูกค้า 1 ครั้งต่อปี
  • มีมาตรการในการรักษาข้อมูลหรือความลับของลูกค้า
  • ส่งเสริมและจัดให้มีการสร้างนวัตกรรมในการบริการเพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์และความพึงพอใจ
คู่แข่งทางการค้า
  • การประชุมร่วมกันตามองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
  • การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายตามนโยบายของรัฐ
  • การดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบของกฎหมายและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
  • ดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต
  • การไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่ง
  • ดำเนินธุรกิจและแข่งขันกันภายใต้กรอบของกฎหมายและกติกาการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
  • ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม
  • ไม่พยายามทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้ายโดยปราศจากมูลความจริง
หน่วยงานราชการ
  • การสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
  • การเปิดเผยข้อมูลหรือให้ความร่วมมือ
  • การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานราชการ
  • ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
  • รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาครัฐ
  • แบ่งปันความคิดเห็นจากภาคเอกชนสู่ภาครัฐเพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
  • ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติจากทางภาครัฐอย่างเคร่งครัด
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • การจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน
  • การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์/อีเมล
  • ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
  • การเปิดเผยข้อมูลหรือรายงาน
  • ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่สร้างความเสียหายแก่ต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ดำเนินงานภายใต้กฎหมายข้อบังคับ หลักคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม
  • ทำความเข้าใจชุมชนและรับฟังความคิดเห็นของชุมชน รวมทั้งร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
  • สื่อสารข้อมูลและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
  • ลงพื้นที่เพื่อเข้าเยี่ยมชุมชน ตามโอกาสที่เหมาะสม รับฟังความคิดเห็น ความต้องการ และข้อเสนอแนะของชุมชนและสังคม
  • ร่วมแก้ปัญหาและสนับสนุนโครงการอันเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม และสิ่งแวดล้อม
  • ไม่กระทำการใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนและสังคม รวมถึงปฏิบัติตากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด
  • สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ

การประกอบธุรกิจเรือขนส่งน้ำมันฯ ทางทะเลอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นมลพิษจากน้ำมัน มลพิษจากสารเหลวมีพิษในระวาง มลพิษจากการขนส่งทางทะเลซึ่งเป็นสารอันตรายที่บรรจุภาชนะ มลพิษจากสิ่งปฏิกูล มลพิษจากขยะ และมลพิษทางอากาศจากเรือ หรือการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่งทำให้น้ำมันรั่วไหลสู่ทะเล แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยครั้ง แต่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่าง ๆ จึงตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งน้ำมันฯ ทางทะเล โดยมีการออกกฎหมายควบคุมมาตรฐานและความปลอดภัยในการเดินเรือและการควบคุมมลพิษ รวมไปถึงการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรฐานการเดินเรือด้วย

องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดและผลักดันให้มีกฎหมายระหว่างประเทศในการป้องกันมลพิษจากการเดินเรือ ได้แก่ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ (International Convention for Prevention of Pollution from Ships) ค.ศ. 1973 ซึ่งต่อมาได้ถูกแก้ไขโดยพิธีสาร ค.ศ. 1978 และเป็นที่รู้จักทั่วไปในนามอนุสัญญา MARPOL 73/78 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันและลดมลพิษที่เกิดจากเรือไม่ว่าจะเป็นมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเดินเรือตามปกติ (routine operations) หรือที่เกิดจากอุบัติเหตุก็ตาม

ในฐานะที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) โดยผ่านทางรัฐเจ้าของธงเรือดังกล่าวนั้น กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญและปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายของหน่วยงานกำกับดูแลทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างเคร่งครัดมาตลอด เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการของบริษัทและกลุ่มบริษัทที่ดีและยั่งยืน

  1. การจัดการน้ำอับเฉาเรือ


    ในการขนส่งสินค้าทางเรือเดินสมุทรจะใช้น้ำอับเฉาเรือ (Ships’ Ballast Water) เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้เรือสามารถทรงตัวได้ดี แต่การสูบถ่ายน้ำอับเฉาเรือเป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างปัญหาการนำชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ต่างถิ่นไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งบางชนิดสามารถเติบโตและแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และอาจก่อให้เกิดโรคแก่มนุษย์ ดังนั้น องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) จึงได้พัฒนาอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมและการจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอนที่ประกาศเมื่อ 8 กันยายน 2547 และบังคับใช้เมื่อ 8 กันยายน 2560 ซึ่งกำหนดให้เรือเดินทะเลระหว่างประเทศทั้งหลายติดตั้งระบบบำบัดน้ำอับเฉา (Ballast Water Management System: BWMS) โดยน้ำอับเฉาต้องได้รับการบำบัดตามมาตรฐานเฉพาะก่อนที่จะระบายน้ำออกสู่ทะเล ทั้งนี้ ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าวนี้มีการกำหนดให้กลุ่มเรือต่อใหม่ (New Ships) ซึ่งต่อเรือภายหลังวันที่ 8 กันยายน 2560 (ปี ค.ศ. 2017) นั้น ให้มีติดตั้งระบบบัดน้ำอับเฉามาจากอู่ต่อเรือตั้งแต่ต้น และในกลุ่มเรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Existing ships) ซึ่งต่อเรือก่อนวันที่ 8 กันยายน 2560 (ปี ค.ศ. 2017) นั้นจะต้องดำเนินการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับนี้โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2567 (ปี ค.ศ. 2024) ส่งผลให้เรือทุกลำที่มีการสัญจรระหว่างประเทศจะต้องมีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำอับเฉา และจะต้องให้เรือทุกลำดำเนินการตามแผนการจัดการน้ำอับเฉาเฉพาะของเรือในแต่ละลำ ครอบคลุมถึงการให้เรือทุกลำต้องมีสมุดบันทึกน้ำอับเฉาและได้รับใบรับรองการจัดการน้ำอับเฉาตามมาตรฐานสากล

    แนวทางการจัดการ
    ในการนี้ กลุ่มบริษัทฯ จึงมีการวางแผนร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ปฏิบัติงานได้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง และสามารถติดตั้งระบบบำบัดน้ำอับเฉาที่เป็นไปตามมาตรฐาน IMO สำหรับเรือเดินทะเลระหว่างประเทศที่ขนส่งในน่านน้ำสากล โดยพิจารณาการติดตั้งระบบบำบัดน้ำอับเฉาร่วมกันอย่างรอบด้านของเรือแต่ละลำ อาทิ รอบระยะเวลาการสำรวจเพื่อต่ออายุเรือ (Renewal Survey) ตามเอกสารใบสําคัญรับรองระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากน้ำมัน (International Oil Pollution Prevention Certificate : IOPP) และตามรอบระยะเวลาการซ่อมบำรุงและการนำเรือเข้าอู่ของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานด้วย
    ผลการดำเนินการ
    ปัจจุบัน มีเรือจำนวน 3 ลำในกองเรือของกลุ่มบริษัทฯ ติดตั้งระบบบำบัดน้ำอับเฉา (Ballast Water Management System: BWMS) โดยการติดตั้งระบบดังกล่าว กลุ่มบริษัทฯ พิจารณาดำเนินการติดตั้งบนเรือเดินทะเลระหว่างประเทศตามวงรอบของการนำเรือเข้าอู่ต่อไป

  2. การป้องกันมลพิษทางอากาศจากการเดินเรือ


    ในปัจจุบันเรือขนส่งและบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แหล่งใหญ่ อันเนื่องมาจากการใช้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน ซึ่งก๊าซนี้เป็นอันตรายทั้งต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของฝนกรดและโรคทางเดินหายใจ ดังนั้น เพื่อลดมลภาวะทางทะเลมลพิษทางอากาศและลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas : GHG) อันก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) จึงมีข้อกำหนดในการใช้เชื้อเพลิงที่มีค่ากำมะถันต่ำที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 (ปี ค.ศ. 2020) (“IMO2020”) โดยผู้ขนส่งจะต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีค่ากำมะถันต่ำ คือไม่สูงกว่า ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนักจากเดิมร้อยละ 3.5 โดยน้ำหนักในเชื้อเพลิงเรือ หรือติดตั้งเครื่องดักจับเขม่าควัน (Exhaust Gas Cleaning Scrubber) เพื่อลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในอากาศ ซึ่งเป็นการควบคุมสารพิษที่ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน (Ozone-Depleting Substances) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SO) และฝุ่นละออง (Particulate Matter)

    แนวทางการจัดการ
    ในการนี้ กลุ่มบริษัทฯ มีการดำเนินการรองรับสถานการณ์ตามมาตรการ IMO2020 ซึ่งกลุ่มบริษัทฯ มีนโยบายเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงที่มีค่ากำมะถันต่ำ (Low Sulphur Fuel Oil : LSFO) ไม่เกินร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนักของกำมะถันในเชื้อเพลิงเรือ สำหรับกลุ่มเรือที่ให้บริการหรือมีความจำเป็นต้องขนส่งในเส้นทางนอกเขตน่านน้ำไทย ให้เป็นไปตามองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ทุกประการ รวมถึงการควบคุมติดตามประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงที่มีค่ากำมะถันต่ำดังกล่าว
    ผลการดำเนินการ
    กลุ่มบริษัทฯ มีการประกาศใช้น้ำมันเตากำมะถันต่ำไม่เกิน 0.5% โดยน้ำหนักเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในเรือ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา เพื่อแสดงเจตนารมณ์การให้ความร่วมมือและการสร้างมาตรฐานในระดับสากล และเรือขนส่งฯ ระหว่างประเทศทุกลำของกลุ่มบริษัทฯ ผ่านการตรวจสอบและได้รับใบสำคัญรับรองระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศครบถ้วนแล้ว

  3. การจัดการขยะบนเรือ
    การที่เรือลำหนึ่งออกเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งทำให้เรือแล่นอยู่กลางทะเลเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากกิจกรรมภายใต้ภารกิจการขนส่งสินค้าแล้ว บนเรือยังจำต้องมีการประกอบกิจกรรมของคนประจำเรือ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมในการดำรงชีพ เช่น การประกอบอาหาร หรือกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมทั้งหลายของคนบนเรือในเรือลำหนึ่งนั้นจำเป็นต้องบรรทุกเสบียง สิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภคที่จำเป็น ให้เพียงพอต่อการเดินเรือครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองเป็นแหล่งที่มาของขยะบนเรืออันจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศในทะเล

    แนวทางการจัดการ
    สำหรับการจัดการขยะบนเรือของกลุ่มบริษัทฯ นั้น มีนโยบายติดตั้งเตาเผาขยะบนเรือตามเงื่อนไขที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) กำหนดให้เตาเผาขยะที่ติดตั้งบนเรือที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 หรือเตาเผาขยะที่ติดตั้งบนเรือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 ต้องได้มาตรฐานตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศกำหนดและมีใบสำคัญรับรองที่เรียกว่า IMO Type Approval Certificate ซึ่งจะต้องเผาขยะจะต้องกระทำในเตาเผาขยะเท่านั้น และห้ามไม่ให้เผาขยะบางอย่าง เช่น ของเหลือจากระบบล้างท่อไอเสีย (exhaust gas cleaning system residues) และ polychlorinated biphenyls (PCBs) เป็นต้น
    ผลการดำเนินการ
    กลุ่มบริษัทฯ มีการติดตั้งเตาเผาขยะตามมาตรฐานตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศกำหนดและมีใบสำคัญรับรอง IMO Type Approval Certificate สำหรับเรือทุกลำในกองเรือ

  4. การจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas Emission Management)
    การใช้เชื้อเพลิงกำมะดันต่ำ (Low Sulphur)
    เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฝุ่นละอองที่เกิดจากการเดินเรือ บริษัทฯ ประกาศใช้น้ำมันที่มีค่ากำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.5 ของน้ำหนักเรือเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเดินเรือตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2562 และเรือขนส่งระหว่างประเทศทุกลำของบริษัทฯ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับใบสำคัญระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศครบถ้วนแล้ว ในปี 2565 บริษัทฯ ยังคงปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดและไม่มีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
    การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
    ตามเจตนารมย์ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) มีเป้าหมายในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามแผนของ IMO ได้กำหนดเครื่องมือเพื่อเป็นกลไกในการชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเรือขนส่ง ประกอบด้วย ข้อมูลดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเรือที่มีอยู่แล้ว (Energy Efficiency Existing Ship Index: EEXI) และดัชนีชี้วัดความเข้มข้นค่าคาร์บอน (Carbon Intensity Indicator: CII) โดยในปี 2566 เครื่องมือดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานของเรือแต่ละลำที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น เพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามแผนของ IMO ปี 2565 บริษัทฯ จึงได้มีการเตรียมความพร้อมของเรือด้วยการประเมินคุณสมบัติและรูปแบบของเรือให้ผ่านการรับรองจากผู้ประเมิน (Class) รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการจัดเก็บข้อมูลการใช้พลังงานของเรือแต่ละลำเพื่อจัดส่งให้ IMO สำหรับการประเมินดัชนีชีวัดความเข้มข้นค่าคาร์บอน (Carbon Intensity Indicator: CII) ในปลายปี 2566
    ปี 2565 บริษัทฯ ได้มีเป้าหมายและแผนดำเนินงานระยะยาวในการลดก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งทางเรือให้เป็นไปตามเกณฑ์ของ IMO และกรอบทิศทางของหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทย บริษัทฯ จึงได้มีแต่งตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อศึกษาและจัดหาแนวทางหรือกระบวนการที่นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  5. การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)
    บริษัทฯ มีแนวทางดําเนินงานที่จะนำพาให้องค์กรเกิดการดำเนินงานและส่งเสริมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2565 บริษัทฯ เริ่มวางแนวปฏิบัติสำหรับการจัดหาคู่ค้าหรือรายการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเริ่มมีการสำรวจรายการสินค้าที่จัดซื้อสำหรับเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ของสำนักงาน เพื่อให้ทราบชนิดและจํานวนสินค้าที่บริษัทฯ มีความต้องการใช้ แล้วพิจารณาคัดเลือกสินค้าที่มีการสั่งซื้อในปริมาณมากในการเริ่มต้นการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  1. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
    บริษัทฯ มุ่งเน้นที่จะประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม มีจรรยาบรรณ และตั้งมั่นที่จะแข่งขันทางการค้าตามหลักจริยธรรมในการประกอบการค้า กฎหมาย และหลักการแข่งขันทางการค้าอย่างเสมอภาคกัน รวมถึงปฏิเสธพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เช่น การแสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้า การเรียก รับ และไม่ให้ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริตทางการค้าในการจัดซื้อสินทรัพย์ เป็นต้น
    นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น โดยบริษัทฯ มีนโยบายให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น อีกทั้ง บริษัทฯ มีโครงการรณรงค์การส่งเสริมและปลูกจิตใต้สำนึกให้แก่บุคลากรของบริษัทฯ ในทุกระดับชั้นให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
    การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    คณะกรรมการบริษัทได้มีการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2559 ตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมถึงสร้างประสิทธิภาพและความโปร่งใสอันจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก
    จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
    บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมและจรรยาบรรณที่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนพึงยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่และนำไปปฏิบัติต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงได้กำหนดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานของบริษัทฯ
    ผลการดำเนินการ
    จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ทำให้ได้รับคะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” หรือ “5 ดาว” จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2565 (หรือ CGR 2022) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนามาตรฐานและดำรงตนในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรมและมีจรรยาบรรณเรื่อยมา
  2. การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
    บริษัทฯ มีการบริหารกิจการบนพื้นฐานความโปร่งใส มีจริยธรรม ยึดมั่นในหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การให้หรือรับสินบนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือภาคเอกชน โดยบริษัทฯ ได้กำหนดโครงสร้างองค์กรให้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ กระบวนการทำงาน และสายการบังคับบัญชาในแต่ละหน่วยงานให้มีความชัดเจน เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจและมีความรัดกุมในการตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม
    ผลการดำเนินการ
    จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ทำให้ได้รับคะแนนด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” หรือ “5 ดาว” จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2565 (หรือ CGR 2022) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนามาตรฐานและดำรงตนในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรมและมีจรรยาบรรณเรื่อยมา
  3. การเคารพสิทธิมนุษยชน
    บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง เคารพสิทธิมนุษยชน มีการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน โดยพนักงานทุกระดับต้องปฏิบัติตามทั้งกฎหมายแรงงานและสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมสำหรับสิทธิแรงงานสิทธิสตรี สิทธิเด็ก การปฏิบัติต่อคู่ค้าหรือผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้กฎหมายไทยและสากล เพื่อไม่ให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนระหว่างบริษัทฯ กับ พนักงาน ชุมชน คู่ค้า หรือผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน การไม่ใช้แรงงานเด็ก การเคารพสิทธิสตรีไม่มีการเลือกปฏิบัติ การได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรม ความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี
  4. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมเป็นปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของกิจการและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ด้วยเหตุนี้กลุ่มบริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ ดังนี้
    (1) เคารพสิทธิของพนักงานตามหลักสิทธิมนุษยชน และปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
    (2) จัดให้มีกระบวนการจ้างงาน และเงื่อนไขการจ้างงานเป็นธรรม รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน และการพิจารณาผลงานความดีความชอบภายใต้กระบวนการประเมินผลการทำงานที่เป็นธรรม
    (3) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร โดยจัดให้มีการจัดอบรม สัมมนา ฝึกอบรม รวมถึงส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนา และฝึกอบรมวิชาการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถศักยภาพของบุคลากร รวมถึงปลูกฝังทัศนคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากร
    (4) จัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ สำหรับพนักงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสังคม และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือประเภทต่าง ๆ แก่พนักงาน เช่น ทุนการศึกษาแก่บุตร และเงินช่วยฌาปนกิจ เป็นต้น
    (5) จัดให้มีบริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่บุคลากรทุกระดับชั้นของบริษัทฯ โดยพิจารณาจากปัจจัยความเสี่ยงตามระดับ อายุ เพศ และสภาพแวดล้อมในการทำงานของแต่ละบุคคล
    (6) ดำเนินการให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และมีสุขอนามัยในสถานที่ทำงานที่ดี โดยจัดให้มีมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และเสริมสร้างให้พนักงานมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย รวมถึงจัดการฝึกอบรม และส่งเสริมให้พนักงานมีสุขอนามัยที่ดี และดูแลสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยอยู่เสมอ
    (7) เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมหรือ การกระทำที่ไม่ถูกต้องในบริษัทฯ รวมถึงให้การคุ้มครองพนักงานที่รายงานเรื่องดังกล่าว
    นโยบายการบริหารและพัฒนาบุคลากร
    บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาบุคลากรขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการสรรหา ดูแล และรักษาบุคลากรของบริษัทฯ เป็นอย่างดี สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งยังนำมาตรการต่อต้านการทุจริตมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบริหารและพัฒนาบุคลากรด้วย
    ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยประกาศบังคับใช้ทั่วทั้งองค์กร
  5. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
    บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาบริการของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเพื่อความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุดของลูกค้าและยึดมั่นในการปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ลูกค้าเสมือนเป็นบุคคลในครอบครัวของบริษัทฯ ดังนี้
    (1) มุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะอนามัย และได้รับความพึงพอใจสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการ โดยพนักงานของบริษัทฯ จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลของการบริการอย่างถูกต้องและครบถ้วน
    (2) การดำเนินการให้ลูกค้าได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบริการของบริษัทฯ ที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือน คลุมเครือ หรือโฆษณาเกินจริง เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอในการตัดสินใจ
    (3) คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้า และมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้ใช้บริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยตามมาตรฐานและกฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยในระดับสากล และตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงออกแบบ สร้างสรรค์ และพัฒนาบริการอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของบริการของบริษัทฯ
    (4) มีระบบลูกค้าสัมพันธ์โดยจัดเตรียมช่องทางการสื่อสารติดต่อกับลูกค้า รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า และระหว่างลูกค้ากับบริษัทฯ ให้ยั่งยืน
    (5) ปกป้องและรักษาข้อมูลของลูกค้าที่บริษัทฯ เก็บไว้ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ เป็นความลับ โดยที่จะไม่ใช้ข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในทางที่มิชอบ
    การรับรองมาตรฐานการให้บริการ
    บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001:2015) ตามมาตรฐานสากล จากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
    ลูกค้าสัมพันธ์
    บริษัทฯ มีการบริหารจัดการระบบลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อรับคำติชมในการให้บริการและรับแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของบริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยลูกค้าสามารถส่งเรื่องมายังบริษัทฯ ได้ที่ฝ่ายการตลาด หรือที่อีเมล PRMoperation@primamarine.co.th
    ผลการดำเนินการ
    บริษัทฯ ได้มีการนำส่งแบบสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าเกี่ยวกับการให้บริการ เพื่อทำการประเมินการปฏิบัติงาน อันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการปฏิบัติงานเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง โดย โดยผลการประเมินดังนี้

  6. การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม
    บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและตอบแทนคืนสู่สังคมอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างองค์ความรู้ สร้างงาน สร้างคน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาสังคมโดยมุ่งเน้นการบริจาคและการสนับสนุนการศึกษา ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ กับชุมชนโดยรอบในพื้นที่ที่บริษัทฯ เข้าดำเนินธุรกิจตามควรแก่กรณี รวมทั้งตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้ส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย
  7. การมีนวัตกรรมและเผยแพร่นวัตกรรมซึ่งได้จากการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสีย
    บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมและการให้บริการเชิงสร้างสรรค์ที่มีแรงจูงใจอยู่ที่การรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม โดยมุ่งหวังให้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมในการดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นอันดับแรก ซึ่งการมีนวัตกรรมเป็นกระบวนการและการให้บริการทางสังคมได้ด้วยนั้นอยู่บนพื้นฐานของการ “คิดใหม่” เพื่อตอบโจทย์ของสังคมในแง่มุมต่าง ๆ สำหรับปี 2565 บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับกระบวนการทำงาน รวมถึงการวางแผนการจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรมให้กับการบริการด้านการขนส่งและพัฒนาระบบนิเวศให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการทำงานในเชิงนวัตรกรรม เพื่อลดต้นทุนของการให้บริการหรือลดการใช้พลังงาน รวมถึงการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น